วันอาทิตย์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2556

สรุปวิจัย

ชื่องานวิจัย : การพัฒนาความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 โดยใช้สื่อประสม

ผู้วิจัย : ดวงเดือน คณานุศักดิ์

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
          การจัดการศึกษาให้เด็กปฐมวัยเป็นการจัดการศึกษาเพื่อวางรากฐานที่ดีให้แก่เด็กให้มีโอกาสได้รับการเสริมสร้างพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน เพราะเด็กในวัยนี้เป็นวัยที่พัฒนาการทุกด้านพัฒนาอย่างรวดเร็ว การที่เด็กจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีนั้นขึ้นอยู่กับช่วงแรกของชีวิตที่จะได้รับการจัดประสบการณ์ที่ถูกต้องหรือไม่ ในการให้การศึกษาเด็กควรเป็นไปอย่างเหมาะสม เพื่อพัฒนาการของเด็กเป็นไปอย่างถูกต้อง

วัตถุประสงค์ของการศึกษา
          1. เพื่อสร้างชุดสื่อประสมเพื่อพัฒนาการความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่1
          2. เพื่อศึกษาผลการใช้ดสื่อประสมเพื่อพัฒนาการความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่1

ขอบเขตของการศึกษา
          กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1

ประโยชน์ที่ได้รับ
          ทำให้ได้แนวทางในการใช้สื่อสำหรับครูและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับเด็กอนุบาล

  เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา
          1. สื่อประสมหลากหลายชนิดเพื่อพัฒนาการความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่1
          2. แบบวัดความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์จำนวน 6 ชุด
          3. แบบสังเกตพฤติกรรมทางสังคม        
    
สรุปผลการศึกษา
          1. ได้สื่อประสมเพื่อพัฒนาการความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่1 รวม 6 ชุด ในแต่ละชุดประกอบด้วยกิจกรรมต่างๆ
          2. ผลการใช้สื่อประสมเพื่อพัฒนาความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์

ข้อเสนอแนะ
         1. ในการจัดกิจกรรมทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยควรจัดกิจกรรมและสื่อที่มีความหลากหลาย
         2. ในการจัดกิจกรรมควารมีแรงเสริมเพื่อกระตุ้นให้เด็กได้สนใจ
         3. ระหว่างการจัดกิจกรรมครูคสรมีการสังเกตพฤติกรรมเด็ก 

ครั้งที่ 16


วันอังคาร ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

- อาจารย์และนักศึกษาพูดคุยสรุปเรื่องราวที่ได้เรียนมาเกี่ยวกับ คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยว่าเวลาจะ
ทำแผนการสอนต้องคำนึงถึงมาตราฐานคณิ ศาสตร์

- คณิตศาสตร์เป็นเรื่องของการคิดอย่างสร้างสรรค์คิดได้หลากหลายเวลาสอน เด็กควรทำมายแมปและ
ตารางสัมพันธ์ควบคู่ไปด้วยทำให้เด็กและครูเกิดความเข้าใจ ร่วมกัน

- สอนวิธีการใช้เกณฑ์ตั้งคำถาม เช่น กล้วยที่มีสีเหลือง กับกล้วยที่มีสีเขียว ให้ใช้คำถามเกณฑ์เดียวคือ กล้วยที่มีสีเขียวมีกี่ลูก ที่เหลือเด็กก็จะรู้เองว่าคือกล้วยที่มีสีเขียว

- สอนเด็กจัดประเภทของบางอย่างมันสัมพันธ์กันเด็กก็ได้รู้แล้วเข้าใจว่าทำไมของบางอย่างต่างกันแต่อยู่ด้วยกัน

- ต้องมีการบันทึกโดยใช้ตารางเปรียบเทียบในการสอนควบคู่กันไปด้วย

- อาจารย์พูดถึงเรื่องที่จะไปศึกษาดูงานที่หนองคายและประเทศลาวพร้อมทั้งให้นักศึกษาที่จะไป
- งานปัจฉิมนิเทศและงานเลี้ยงพี่ปี 5 จัดในวันที่ 3 มีนาคม 2556
- อาจารย์หาข้อตกลงร่วมกับนักศึกษาเรื่องการสอบ งานกีฬาสีและงานเลี้ยงรุ่นพี่ปี5ซึ่งได้ข้อสรุปดังนี้
- สอบในวันอังคารที่ 26 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 13.00 น.
- งานกีฬาสี จัดในวันที่ 2 มีนาคม 2556


- เขียนสรุปจากการเรียนในรายวิชานี้ว่า ได้ความรู้อย่างไร, ได้ทักษะอย่างไร , ได้วิธีสอนอย่างไร

ครั้งที่ 15

วันอังคาร ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


เพื่อนสาธิตการสอน เรื่อง อวัยวะภายนอกร่างกาย
  - วันที่ 1 รู้จักอวัยวะภายนอก
       1. อ่านไม่ออกต้องมีภาพมาแปะ
       2. อะไรที่นับแล้วให้ทำเครื่องหมายไว้

  - วันที่ 2 ลักษณะ
    บอกครูซิว่าอวัยวะภายนอกมีอะไรบ้าง > เด็กๆลองสังเกตลักษณะดูรูปร่าง พื้นผิว สี >
เปรียบเทียบโดยใช้ตารางสัมพันธ์ 

  วันที่ 3 หน้าที่
    อวัยวะอะไรบ้างที่เหมือนกัน

  วันที่ 4 ประโยชน์
    ครูเล่านิทาน

  - วันที่ 5 วิธีการดูแลรักษา



ภาพของเพื่อนที่สอบสอน



ครั้งที่ 14


วันอังคาร ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

เนื้อหาที่เรียน
เพื่อนสาธิตการสอน เรื่อง กระดุม
  วันที่ 1 กระดุมมีหลายชนิดมีชื่อเรียกแตกต่างกัน
     ร้องเพลง > ครูแจกภาพตัดต่อรูปกระดุมให้เด็ก > ให้เด็กแต่ละคนติดภาพตัดต่อ
บนกระดาน > บอกเด็กให้ช่วยต่อเติมภาพที่สมบูรณ์ > เด็กๆดูซิภาพที่เห็นเป็นภาพอะไร >
เด็กๆดูซิในตัวเด็กๆมีกระดุมตรงไหนบ้าง > เด็กๆรู้จักกระดุมอะไรบ้าง

   - วันที่ 2 ชนิดของกระดุม

  วันที่ 3 ประโยชน์ของกระดุม
     ใช้นิทาน

   - วันที่ 4 การเก็บรักษา
     เราจะไปซื้อกระดุมได้ที่ไหนบ้าง > วาดแผนที่ที่ไปร้านกระดุม > อาชีพที่ใช้กระดุม >
ที่บ้านเด็กๆมีกระดุมเก็บไว้ที่ไหนบ้าง




ครั้งที่ 13


วัน อังคาร ที่ 29 มกราคม พ.ศ.2556

         -   อาจารย์ได้ให้นักศึกษา เข้าเรียนพร้อมกันทั้ง 2 ห้อง และพูดคุยถึงเรื่องกิจกรรมประกวดความสามารถของคณะศึกษาศาสตร์ มีรายละเอียดดังนี้

การแสดงการรำ - สว่างจิต ( แพทตี้ )
การแสดงร้องเพลง - รัตติยา ( จูน )
การแสดงโฆษณา - นิศาชล ( โบว์ ) , ละไม ( เปิ้ล )
พิธีกร - ลูกหยี , ซาร่า

การแสดงโชว์
         - ลิปซิ่งเพลง - จุฑามาส , นีรชา
         - เต้นประกอบเพลง - พลอยปภัส , เกตุวดี , มาลินี
         - ละครใบ้ - ลูกหมี , จันทร์สุดา
         - ตลก - ณัฐชา , แตง , ชวนชม

 ผู้กำกับหน้าม้า - พวงทอง , นฎา

 หน้าม้า - เพื่อน ๆ ที่เหลือจะต้องเป็นน่าหม้า

             กิจกรรมครั้งนี้สามารถนำไปเชื่อมโยงกับคณิตศาสตร์ ดังนิ้    
 นับ = จำนวนนักแสดง
 การลำดับเหตุการณ์ = ลำดับการแสดงก่อนหลัง
 การทำตามแบบ
 การบวก
 ตำแหน่งทิศทาง

ครั้งที่ 12


วันอังคาร ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2556

เนื้อหาที่เรียน

เพื่อนสาธิตการสอน เรื่อง ขนมไทย
 - วันที่ 1 ชื่อขนมไทย
วันที่ 2 ลักษณะรูปร่างของขนมไทย 



* เพื่อนสาธิตการสอน เรื่อง ข้าว
วันที่ 2 ลักษณะของข้าว
วันที่ 4 การเก็บรักษา


* เพื่อนสาธิตการสอนเรื่องกล้วย
วันที่ 1 ชื่อของกล้วยชนิดต่างๆ
วันที่ 2 ลักษณะของกล้วย
วันที่ 3 ข้อควรระวัง
วันที่ 4 การขยายพันธุ์



ครั้งที่ 11


วันอังคาร ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2556

เนื้อหาที่เรียน
* อาจารย์สาธิตการสอนเรื่อง ขนมไทย

งานที่ได้รับมอบหมาย
* เตรียมสาธิตการสอนตามหน่วยการเรียนที่กำหนดไว้

ครั้งที่ 10


วันอังคารที่ 8 มกราคม 2556

    สาระมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดคณิตศาสตร์ปฐมวัย (สสวท.)
สาระที่ 1 : จำนวนและการดำเนินการ ( เข้าใจถึงการเเสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตประจำวัน)

สาระที่ 2 : การวัด (พื้นฐานเกี่ยวกับการวัด น้ำหนัก ปริมาณ เวลา
สาระที่ 3 : เรขาคณฺิต (ใช้คำในการบอกทิศทาง ต่ำแหน่ง ระยะทาง
สาระที่ 4 : พืชคณิต (เข้าใจรูปแบและความสัมพันธ์
สาระที่ 5 : การวิเคาะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น (รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อม นำเสนอ
สาระที่ 6 : ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ (การแก้ปัญหา การใช้เหตุผล การสื่่อสารทางคณิตศาสตร์และนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่างๆ ทางคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ และความคิดสร้างสรรค์





การนำดอกไม้นี้  มาประยุกต์ใช้
      - เป็นสื่อการสอน
                  1. ถามว่ามีทั้งหมดเท่าไหร่ ( เศษส่วน ) > นับ > จำนวน > แทนค่าด้วยตัวเลข
              ทำได้หลายวิธีทั้งเขียน , ใช้ภาพ ( เป็นวิธีการดำเนินการ )
                  2. ใช้เกณฑ์ " ขนาดที่เท่ากัน " ( จัดประเภท ) > จับคู่ > การวัด > เปรียบเทียบ > เรียงลำดับ
                  3. ทำเป็นเซต ( เซต , แบบรูป )
                 4. วางเยื้องกัน ( การอนุรักษ์)
                 5. ทำเป็นสถิติ 


ครั้งที่ 9


วันอังคารที่ 1 มกราคม 2556

*หมายเหตุ : 
ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากเป็นวันหยุดปีใหม่

ครั้งที่ 8


วันอังคารที่ 25 ธันวาคม 2555

*หมายเหตุ : 
ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากเป็นวันสอบกลางภาค

ครั้งที่ 7


วันอังคารที่ 18 ธันวาคม 2555

*หมายเหตุ : ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ติดเข้ากีฬาสีคณะครูอาจารย์

- งานที่ได้รับมอบหมาย



ครั้งที่ 6


วันอังคาร ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2555

         การประดิษฐ์สื่อ  จะต้องคำนึงถึงความประหยัดเงิน  ถ้าจำเป็นต้องมีการลงทุนสูงสื่อนั้นจะต้องสามารถใช้งานได้หลายครั้ง

 การเลือกเนื้อหาที่จะสอนเด็ก  ควรเลือกเนื้อหา ดังต่อไปนี้ 

   1. เรื่องราวที่ใกล้ตัวเด็ก
   2. เรื่องราวที่เด็กสนใจ
   3. เรื่องราวที่มีผลกระทบกับเด็ก

 นักศึกษาอยากให้กล่องเป็นอะไร
     - บ้าน
     - ตึก
     - หุ่นยนต์

นักศึกษากล่องสามารถประยุกต์ใช้เป็นอะไรได้บ้าง
     - โมบาย
     -
ใส่ดินสอ






* หมายเหตุ :
         - นำแกนกระดาษทิชชู่ โดยตัดออกเป็น 3 ส่วน ตัดกระดาษสี 3
สี เเดง ชมพู ส้ม แล้วตัดกระดาษแข็งเป็นรูปดอกไม้แล้วเจาะรู นำมาปิดหัวท้าย

ครั้งที่ 5


วันอังคารที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2555

นำเสนอความเรียงทางคณิตศาสตร์ในแต่ละหน่วยการเรียน

- การคาดเดาด้วยสายตา เป็นการหาค่าอย่างไม่เป็นทางการ

- การวาดภาพ คือ การถ่ายทอดประสบการณ์ เด็กอนุบาลควรใช้สีวาดภาพไม่ควรใช้ดินสอเพราะเป็นการฝึกให้เด็กแก้ไขปัญหาและมีความมั่นใจในการตัดสินใจของตนเอง

- กิจกรรมในการเสริมประสบการณ์บางกิจกรรม ถ้าต้องการให้เด็กไปค้นหาคำตอบจากที่บ้านครูต้องทำจุลสารให้ความรู้และชี้แจงแก่ผู้ปกครอง 

- อาจารย์สอนวิธีการเขียนแผนในแต่ละวัน


* หมายเหตุ :  

- เขียนแผนการสอนเป็นรายบุคคลตามหน่วยการเรียนที่กำหนดไว้
- เตรียมกล่อง 1 ใบ


ครั้งที่ 4


วันอังคาร ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

- อาจารย์ตกลงสถานที่และเวลาที่่จะไปศึกษาดูงานนอกสถานที่
- อาจารย์ให้ทำ MAP ของหน่วยที่กลุ่มตัวเองเลือกมาเพื่อมาทำใส่ A4 ของตัวเอง
- อาจารย์แนะนำและบอกข้อบกพร่องในการเขียน MAP และเขียนลายละเอียดของตัวเอง

ครั้งที่ 3


วันอังคาร ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

 นำเสนอแผนผังความคิดหน่วยการเรียนของเด็กปฐมวัย เรื่อง ดอกกุหลาบ
         - ประโยชน์ของดอกกุหลาบ
         - ชนิดของดอกกุหลาบ
         - ลักษณะของดอกกุหลาบ
         - ข้อควรระวัง


ขอยข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย
(เนื้อหาหรือทักษะ นิตยา ประพฤติกิจ.2541:17-19)

          1. การนับ
          2. ตัวเลข
          3. การจับคู่ 
          4. การจัดประเภท 
          5. การเปรียบเทียบ 
          6. การจัดลำดับ
          7. รูปทรงและเนื้อที่
          8. การวัด
          9. เซต
          10. เศษส่วน
          11. การทำตามแบบหรือหรือลวดลาย 
          12. การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ

เยาวพา เดชะคุปด์ (2542:87-88) ได้เสนอการสอนคณิตศาสตร์แนวใหม่ที่ครูควรศึกษา
เพื่อจัดประสบการณ์ให้เด็ก ดังนี้

         1. การจัดกลุ่มหรือเซต
         2. จำนวน 1- 10 การฝึกนับ 1-10 จำนวนคู่จำนวนคี่
         3.ระบบจำนวน (number system)
         4. ความสัมพันธ์ระหว่างเซตต่างๆ
         5. คุณสมบัติของคณิตศาสตร์จากการรวมกลุ่ม (properties of math)
         6. ลำดับที่
         7. การวัด (measurement) หาค่าในเชิงปริมาณ
         8. รูปทรงเรขาคณิต เป็นพื้นฐานที่อยู่รอบตัวเรา
         9.สถิติและกราฟ การหาความสัมพันธ์

วันศุกร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 2

วัน อังคาร ที่ 13 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2555

- อาจารย์แจกกระดาษแบ่งกัน 4 คน
- อาจารย์ให้วาดภาพที่เป็นสัญลักษณ์ของตัวเราเอง แล้วเขียนชื่อเราลงไป




- อาจารย์ให้เพื่อนที่มาก่อน 8.30 น. นำบัตรภาพของตัวเองมาติดบนกระดานหน้าห้อง

- อาจารย์ให้เพื่อนนำภาพสิ่งไม่มีชีวิตที่เพื่อนวาดออกมาติดบนกระดานหน้าห้อง
- อาจารย์เปิดเพลงการนับให้ฟังแล้วถามว่าได้อะไรจากเพลงนี้ ?

ครั้งที่ 1

วัน อังคาร ที่ 6 เดือน พฤศจิกายน  พ.ศ. 2555

- อาจารย์นิเทศเกี่ยวกับวิชาเรียนและอธิบายเกี่ยวกับการทำ Blog 
                - ใส่วิจัย
                - ใส่บทความ
- อาจารย์ถามว่า "ท่านเข้าใจว่าคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยคืออะไร"
- ความรู้ความเข้าใจเป็นจำนวนทางคณิตศาสตร์